วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หน่วยความจำสำรอง
(Secondary Memory)


หน่วยความจำสำรอง เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้ ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก เป็นหน่วยเก็บข้อมูลถาวรที่ผู้ใช้สามารถย้ายข้อมูลและคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำแรม ขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานมาจัดเก็บไว้ได้ด้วยคำสั่งบันทึกของโปรแกรมประยุกต์ ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลและคำสั่งมาใช้ในภายหลัง ซึ่งหน่วยความจำรองมีความจุข้อมูลมากกว่าหน่วยความจำหลักและมีราคาถูกกว่า แต่เข้าถึงข้อมูลได้ช้ากว่าหน่วยความจำแรม


ประเภทของหน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำสำรอง แบ่งออกตามความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้ 2 ประเภท ดังนี้
     1.หน่วยความจำสำรองที่เข้าถึงข้อมูลได้โดยลำดับ (Sequential Access Storage)
   เป็นหน่วยความจำสำรองที่ต้องมีการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลโดยการเรียงลำดับ  การสืบค้นหรือเข้าถึงข้อมูลจึงล่าช้า
     2.หน่วยความจำสำรองที่เข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Random/Direct Access Storage)
   เป็นหน่วยความจำสำรองที่สามารถจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้โดยตรงไม่ต้องอ่านเรียงลำดับ เหมาะกับการประมวลผลแบบโต้ตอบที่รวดเร็ว


ฮาร์ดดิสก์(Harddisk)
            เป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก สามารถเก็บได้อย่างถาวร โดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ ฮาร์ดดิสก์มีหน่วยความจุตั้งแต่เป็นไบต์ เมกะไบต์ จนถึงจิกะไบต์ หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีความจุของฮาร์ดดิสก์มากก็จะทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มาก
ปัจจุบันนิยมใช้หน่วยความจุเป็นเมกะไบต์และกิกะไบต์ แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้




ฮาร์ดดิสก์ไอดีอี( IDE: Integrated Device Electronics)
           เป็นฮาร์ดดิสก์ใช้งานมายาวนานที่สุด มีการนำแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์มารวมไว้หับจานแม่เหล็ก เพื่อช่วยตัดสัญญาณรบกวนจากภายนอก ฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้จะสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้เพียง 2 เครื่องเท่านั้น จีงมีการพัฒนาฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้ขึ้นเป็นฮาร์ดดิสก์อีไอดีอี (EIDE:Enhance IDE) เพื่อลดข้อจำกัดของฮาร์ดดิสก์ไอดีอี ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นได้ถึง 4 เครื่อง ช่วยให้สามารถบันทึกข้อมูลหรือมีความจุได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น




ฮาร์ดดิสก์ซีเรียวเอทีเอ (Serial ATA)
            เป็นฮาร์ดดิสก์ที่ออกแบบมาให้มีช่องสำหรับจ่ายให้ฮาร์ดโดยเฉพาะ มีคุณสมบัติ พิเศษที่สามารถถอดฮาร์ดได้ในขณะที่เปิดคอมพิวเตอร์



ฮาร์ดดิสก์สกัสซีหรือเอสซีเอสไอ (SCSI: Small Computer System Interface)
           เป็นฮาร์ดแวร์ที่มีหน่วยความจำในตัวเองซึ่งปัจจุบัน SISC อยู่ที่ ความเร็ว 160 MB/Secส่วน ATA อยู่ที่ 100 MB/Sec ทั้งสองมาตรฐานต้องต่อกับ อุปกรณ์เฉพาะที่ออกแบบมากับ แต่ละแบบ ไม่สามารถนำมาต่อเข้าด้วย กันได้ ยกเว้นจะมีตัวควบคุม (Controller)




อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช(Flash Memory Device)
          อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช (flash memory device) แฟลชไดร์ฟ (flash drive) ธัมไดร์ฟ (thumb drive) หรือแฮนดี้ไดร์ฟ (handy drive) เป็นความจำประเภทรอมที่เรียกว่า อีดีพร็อม (Electrically Erasable Programmable Read Only Memory : EEPROM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือ สามารถเขียนและลบข้อมูลได้ตามต้องการ และเก็บข้อมูลได้แม้ไม่ได้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก 





ออปติคัลดิสก์ ( Optical Disk )

1.ออปติคัลดิสก์ เป็นหน่วยความจำรองที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ในการบันทึกข้อมูล ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากกว่าฮาร์ดดิสก์ธรรมดา ออกติคัลดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
2.1 ซีดีรอม (CD-Rom : Compact Disk-Read-Only Memory)
        เป็นหน่วยความจำรองที่บันทึกได้เพียงครั้งเดียว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้รวมทั้งไม่สามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้



2.2 ซีดีอาร์ (CD-R : Compact Disk Recordable)
          เป็นหน่วยความจำรองที่เขียนข้อมูลลงแผ่นแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้ แต่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นเดิมได้จนกระทั่งแผ่นเต็ม
           
           

2.3 ซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW : Compact Disk Rewrite)
        หน่วยความจำที่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น และสามารถเขียนข้อมูลใหม่ทับลงในแผ่นเดิม หรือผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเนื้อหาต่าง ๆ ภายในแผ่น




2.4 ดีวีดี (DVD : Digital Video Disk)
        เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมแทนแผ่นซีดี เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลมาใช้มากขึ้น ซึ่งดีวีดีหนึ่งแผ่น สามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 4.7 GB นิยมใช้บันทึกภาพยนตร์ หลังจากที่บันทึกข้อมูลลงแผ่นดีวีดีแล้ว ผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดีวีดีมี 3 ชนิดได้แก่
            
            2.4.1) ดีวีดีรอม (DVD-ROM) ส่วนมากใช้กับการเก็บภาพยนตร์ที่มีความยาวเกินกว่าสองชั่วโมง




            2.4.2) ดีวีดี-อาร์ (DVD-R) ใช้ในการเก็บข้อมูลที่มีปริมาณมาก และราคาสูงกว่าดีวีดีรอม 




2.4.3) ดีวีดี-อาร์ดับบลิว ( DVD-RW ) เป็นเทคโนโลยีแบบแสงมีเครื่องอ่านดีวีดีแรมที่ให้ผู้ใช้บันทึก ลบ และบันทึกข้อมูลซ้ำลงบนแผ่นเดิมได้ 




2.4.4) บลูเรย์ดิสก์ ( Blue Ray Disk ) เป็นเทคโนโลยีแบบแสงล่าสุดที่สามารถบันทึกข้อมูลความละเอียดสูงได้ถึง 100 กิกะไบต์ ให้ภาพและเสียงที่คมชัด มักนำไปใช้ในการบันทึกภาพยนตร์ แต่แผ่นบลูเรย์ดิสก์จะมีราคาแพงมาก 



แผ่นดิสก์แบบอ่อน (Floppy Disk)
            แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ เป็น อุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางฟลอปปีดิสก์ไดร์ฟ


เทปแม่เหล็ก (Magnetic tape)
            เป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้กันมานานแล้ว  ลักษณะของเทปเป็นแถบสายพลาสติก เคลือบด้วยสารแม่เหล็กเหมือนเทปบันทึกเสียง เทปแม่เหล็กใช้สำหรับเก็บข้อมูลจำนวนมาก  มีการจัดเก็บและเรียกค้นข้อมูลแบบเป็นลำดับ เพราะฉะนั้นการเข้าถึงก็จะเป็นแบบการเข้าถึงโดยลำดับ (Sequential Access)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น